อาชีพ
1. สตรีมเมอร์ (Streamer)
ถือว่าเป็นอาชีพในฝันอันดับต้น ๆ ของเหล่าเกมเมอร์ผู้ชื่นชอบการเล่นเกมหลายคน ลักษณะของงาน Streamer คือ การถ่ายทอดสดการเล่นเกม (live streaming) แบบเรียลไทม์ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Youtube Facebook หรือ Twitch เป็นต้น ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งเกมออนไลน์และออฟไลน์ โดยในขณะที่ถ่ายทอดสดการเล่นเกมอยู่นั้น ก็จะมีการพูดเรื่องราวต่าง ๆ อาจจะเกี่ยวกับเกมหรือไม่เกี่ยวกับเกมก็ได้ เป็นการพูดเอนเตอร์เทนคนดู เพื่อให้ผู้รับชมเกิดความสนุกสนานไม่รู้สึกเบื่อ เนื้อหาที่พูดในการนำเสนออาจจะเป็นการสอนวิธีเล่นเกม เทคนิคการเล่น หรือเคล็ดลับการเล่นให้ชนะ ฯลฯ เปรียบเสมือนพิธีกรจัดรายการถ่ายทอดสด โดยรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-100,000 บาทต่อเดือน
2. เกมแคสเตอร์ (Game Caster)
ในต่างประเทศอาจเรียกว่า “Game Commentator” เป็นอาชีพด้านการผลิตสื่อในรูปแบบของวิดีโอและเผยแพร่ลงในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยการบันทึกภาพขณะที่ตัวเองกำลังเล่นเกม พร้อมทั้งมีการพุดคุยนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเกมที่กำลังเล่นอยู่ หรือที่เรียกว่า “การแคสเกม” นั่นเอง
สำหรับเนื้อหาหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอ ได้แก่ การรีวิวแนะนำหรือวิจารณ์เกมที่กำลังเป็นที่นิยม การสอนเทคนิคในการเล่นเกม การสอนภาษาอังกฤษหรือพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ผ่านการใช้เกมเป็นสื่อกลาง เพื่อจุดประสงค์ในการให้ความบันเทิงและความสนุกสนานแก่ผู้รับชม จำนวนผู้ติดตามรับชม (subscribers) จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับสไตล์และความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตวิดีโอให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำนวน subscribers นั้นเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับรายได้อีกด้วย โดยรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 40,000-500,000 บาทต่อเดือน ตัวกำหนดรายได้ของ Game Caster มีปัจจัยหลักที่สำคัญคือ จำนวน subscribers และสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบกับคุณภาพของงานวิดีโอที่นำเสนอ
3. นักกีฬาอีสปอร์ต (E-sports Player)
หน้าที่หลักของอาชีพนี้คือ เป็นนักกีฬาแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตและฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาฝีมือการเล่น โดยการแข่งขันจะเป็นตัวกำหนดผลงานและความสำเร็จของอาชีพนี้ การแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตคือ การแข่งขันกีฬาแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีกฎกติกาสากลเช่นเดียวกับกีฬาทั่ว ๆ ไป และจะมีการเซ็นสัญญาจ้างกับนักกีฬาด้วย ส่วนข้อแตกต่างระหว่างกีฬาอีสปอร์ตและกีฬาอื่น ๆ คือ ลักษณะการแข่งขันที่มีองค์ประกอบดังนี้ มีเกมออนไลน์เป็นเหมือนสนามแข่งขัน อุปกรณ์ในการแข่งขันคือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ หูฟัง คีย์บอร์ด และระบบอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง โดยระหว่างการแข่งขันนักกีฬาภายในทีมและคู่แข่งอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันก็ได้ แต่สามารถแข่งขันร่วมกันได้แบบออนไลน์ โดยรายได้เฉลี่ยนอยู่ที่ 15,000 บาทไปจนถึงหลักล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้รายได้ของนักกีฬาแต่ละคนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ
4. นักพากย์การแข่งขันเกม (Shout Caster)
ผู้บรรยายหรือพากย์การแข่งขันเกมอีสปอร์ต โดยที่ไม่ได้เป็นผู้ที่กำลังแข่งขันในเกมนั้น ซึ่งหน้าที่หลักก็เหมือนกับนักพากย์กีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น การพากย์ฟุตบอลหรือมวย โดยทำหน้าที่บรรยายการแข่งขัน วิเคราะห์ วิจารณ์เทคนิคการเล่นของแต่ละทีม รวมไปถึงบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระหว่างการแข่งขัน เพื่อให้ผู้รับชมได้อรรถรสในการรับชมมากขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างให้เกิดอารมณ์ร่วม ความสนุกสนาน และทำให้ผู้ชมมีความเข้าใจเหตุการณ์และสถานการณ์ในระหว่างรับชมมากยิ่งขึ้น โดยรายได้เฉลี่ยนอยู่ที่ 50,000-150,000 บาทต่อเดือน
5. เกมอาร์ตติส (Game Artist)
ทำหน้าที่ออกแบบและวาดภาพองค์ประกอบต่าง ๆ ในเกมให้เห็นเป็นภาพที่สวยงามสมจริงหรือตามจินตนาการ เช่น ฉากหลัง วิวทิวทัศน์ วัตถุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะ อาวุธ บ้านเรือน สัตว์ รวมไปถึงตัวละครและเครื่องแต่งกาย ให้ปรากฏเป็นภาพตามเรื่องราวในเกม ตามที่เกมดีไซน์เนอร์ (Game Designer) กำหนดไว้ โดยเกมอาร์ตติสมี 2 ประเภท ได้แก่
• Game Artist 2D ทำหน้าที่ออกแบบภาพร่างตัวละคร ฉาก และบรรยากาศในเกมออกมา เพื่อให้ทีมอื่น ๆ เข้าใจคอนเซปต์ตรงกันว่าตัวละคร หรือองค์ประกอบอื่น ๆ เป็นแบบไหน มีลักษณะอย่างไร โดยมีรายได้เฉลี่ย 15,000-25,000 บาทต่อเดือน
• Game Artist 3D จะรับงานต่อจากฝั่ง 2D แล้วนำภาพร่างนั้นมาปั้นเป็นโมเดลสามมิติ (3D) ขึ้นมา เพื่อให้เห็นองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน เพราะในปัจจุบันเกมส่วนใหญ่จะมีรูปร่างหน้าตาเป็น 3D โดยมีรายได้เฉลี่ย 50,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน
ทั้งนี้ Game Artist 2D และ 3D มีรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทการทำงาน หากเป็นพนักงานประจำจะได้รับเงินเดือนคงที่ในแต่ละเดือน แต่หากรับงานอิสระ (freelance) จะมีรายได้จากการออกแบบงานเป็นชิ้นหรือเป็นโปรเจกต์
6. นักพัฒนาเกม (Game Developer)
เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตเกมออกสู่ตลาด มีหน้าที่สร้างและพัฒนาระบบเกมในส่วนของการเขียนโปรแกรมและการเขียนโค้ด (coding) ต่าง ๆ เช่น การอัปเดตเวอร์ชั่นเกมให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขระบบโปรแกรมภายในเกมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น โดยมีรายได้เฉลี่ยเริ่มต้นที่ 25,000-100,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้รายได้จะเพิ่มขึ้นตามทักษะ ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา
7. นักออกแบบเกม (Game Designer)
เป็นอาชีพที่เปรียบเสมือนผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นคนต้นคิดรูปแบบเกมทั้งหมดว่าเกมที่ต้องการพัฒนาขึ้นมานั้น มีวิธีการเล่น กฎกติกา ความยากง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการเล่นเป็นอย่างไร รวมถึงลักษณะหน้าตาของเกม อาจกล่าวได้ว่าเบื้องหลังความสนุกของเกมแต่ละเกมขึ้นอยู่กับ Game Designer เลยก็ว่าได้ โดยมีรายได้เฉลี่ยเริ่มต้นที่ 15,000-100,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมเกมในไทยเป็นสิ่งใหม่และกำลังเติบโต ทำให้มีผู้เชี่ยวชาญยังไม่มาก จึงเป็นที่ต้องการและมีรายได้ค่อนข้างสูง สำหรับความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ ประสบการณ์ และเงื่อนไขของบริษัท
8. เกมมาสเตอร์ (Game Master)ที่นิยมมากที่สุดpg
Game Master หรือ GM เป็นอาชีพที่ทำงานอยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของวงการเกม มีหน้าที่ในการบริหารจัดการให้ผู้เล่นเกมได้รับความสะดวกและความสนุกจากการเล่นเกมอย่างเต็มที่ โดยขอบเขตบทบาทหน้าที่ของ GM ได้แก่ เป็นผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกม เป็นสื่อกลางที่เชื่อมระหว่างผู้ให้บริการและผู้เล่นเข้าด้วยกัน เป็นผู้เล่นและผู้สร้างสังคมในเกม รายได้เฉลี่ยนเริ่มต้นอยู่ที่ 20,000 บาทขึ้นไป และจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
เปิดตำแหน่ง
เข้าร่วมกับเรา
นักเขียนเกม
แผนกสตูดิโอ
นักออกแบบระดับอาวุโส
ฝ่ายการตลาด
ศิลปินตัวละคร
แผนกสตูดิโอ